ฟันคุด
🦷 ผ่าฟันคุด ไม่น่ากลัว:อย่างที่คิด การถอนฟันคุดหรือผ่่าฟันคุด โดยทีมงานคุณภาพจากคลินิก Updigidental! 🦷
เรารู้ว่าความคิดเกี่ยวกับการถอนฟันและผ่าฟันคุด อาจทำให้คุณกลัวไป แต่อย่าห่วง! ที่คลินิก Updigidental เราเชี่ยวชาญในการถอนฟันคุณภาพอย่างเข้าใจ อ่อนโยนและมีประสิทธิภาพ โดยทีมทันตแพทย์เฉพาะทาง ปลอดภัย สบายใจ
ฟันคุดอาจทำให้คุณรู้สึกกลัว แต่การปล่อยให้เหลืออยู่ที่นั่นอาจนำไปสู่ความการมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก และทำให้เกิดความเสียหายในฟันข้างเคียง เราทีมงานห่วงใยของเราพร้อมเสมอที่จะแนะนำคุณผ่านขั้นตอนทุกขั้นตอนของกระบวนการมาตราฐาน เพื่อให้คุณรู้สึกสบายและมีความสุขตลอดทั้งการรักษา
คลินิก Updigidental ใส่ใจทุกขั้นตอนสำหรับการถอนฟันคุณภาพอย่างเชี่ยวชาญ ด้วยมืออาชีพที่คล่องแคล่วและการให้บริการในแง่ของผู้ป่วย คุณสามารถมั่นใจได้ว่าคุณอยู่ในมือที่ดี นัดหมายวันนี้และเริ่มต้นด้วยยิ้มที่มีความสุขและรู้สึกสุขภาพที่ดี!
ฟันคุดเกิดขึ้นได้อย่างไร
คนสมัยก่อนทานอาหารพวกเนื้อสัตว์ อาหารที่มีเส้นใย ทำให้ขากรรไกรมีการเจริญเติบโตฟันกรามซี่ที่ 3 ที่ขึ้นเป็นซี่สุดท้ายในช่วงอายุ 17 - 18 ปี จึงมีที่ให้ขึ้นได้อย่างสมบูรณ์ แต่เด็กสมัยนี้ทานอาหารอ่อน หรือฟาสต์ฟู๊ดทำให้ขากรรไกรเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่ ฟันกรามซี่ที่ 3 จึงไม่มีที่ให้ขึ้นได้ตรงจึงขึ้นเบียดกับซี่ข้างๆ สำหรับสาเหตุที่เราต้องผ่าฟันคุดออก แบ่งได้หลักๆ เป็น 8 ข้อ คือ
1. เพื่อป้องกันอาการปวดจากการที่ฟันกรามซี่ที่ 3 ขึ้นไม่ได้เนื่องจากเบียดฟันซี่ข้างๆ อยู่ หรือติดกระดูกเรมัส ทำให้เกิดแรงดันบริเวณขากรรไกรขึ้น บางรายที่รากฟันคุดยาวไปกดหรือเกี่ยวคลองประสาท และเส้นเลือดที่อยู่ในขากรรไกร ทำให้เกิดอันตรายต่อเส้นประสาท และเส้นเลือดนั้นได้ หากไม่รีบเอาออก หรือทิ้งไว้นาน หรือในฟันคุดบนถ้าทิ้งไว้นานโพรงไซนัสย้อยต่ำลงมา การผ่าฟันคุดออกอาจทำให้เกิดรอยทะลุระหว่างช่องปาก โพรงไซนัส และอาจเป็นสาเหตุของการเกิดถุงนำ้ได้
2. เพื่อป้องกันการอักเสบของเหงือกที่ปกคลุมฟัน เพราะจะมีเศษอาหารเข้าไปติดอยู่ใต้เหงือกนั้นแล้วไม่สามารถทำความสะอาดได้ เชื้อแบคทีเรียที่มาสะสมอยู่จะทำให้เหงือกอักเสบ ปวด และบวมเป็นหนองมีกลิ่นมาก ถ้าทิ้งไว้การอักเสบจะลุกลามไปใต้คางหรือใต้ลิ้น ซึ่งจะทำให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรคไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้ง่าย นับว่าเป็นอันตรายอย่างยิ่ง บางรายถ้าเหงือกอักเสบมาก และฟันคู่สบงอกยาวลงมากัดโดนเหงือก จะยิ่งทำให้อาการปวดรุนแรงมาก
3. เพื่อป้องกันฟันข้างเคียงผุ ซอกฟันระหว่างฟันคุดกับฟันกรามซี่ที่ 2 ที่อยู่ชิดกันนั้น ทำความสะอาดได้ยาก เศษอาหารจะติดค้างอยู่ทำให้เกิดฟันผุได้ทั้งสองซี่ บางรายที่เป็นมากๆ อาจจะต้องเอาฟันทั้ง 2 ซี่
4. เพื่อป้องกันการละลายตัวของกระดูก แรงดันจากฟันคุดที่พยายามดันขึ้นมาจะทำให้กระดูกรอบรากฟันหรือรากฟันข้างเคียงถูกทำลายไป ในรายที่ฟันข้างเคียงยังไม่ผุ การผ่าฟันคุดล่าช้าเกินไปจะทำให้กระดูกหุ้มรากฟัน และรากฟันซี่ข้างเคียงถูกทำลายหายไปอาจจะกระทบกระเทือนต่อการมีชีวิตของฟันซี่นั้นไปด้วย
5. เพื่อป้องกันการเกิดถุงน้ำ หรือเนื้องอกฟันคุดที่ทิ้งไว้นาน เนื้อเยื่อที่หุ้มรอบฟันคุดอาจจะขยายใหญ่ขึ้นกลายเป็นถุงน้ำแล้วโตขึ้นโดยไม่แสดงอาการเลย จนในที่สุดเกิดการทำลายฟันซี่ข้างเคียง และกระดูกรอบๆ บริเวณนั้น หากไม่เคยได้รับการตรวจฟันมักจะรู้ตัวอีกทีเมื่อเห็นใบหน้าเอียง หรือขากรรไกรข้างหนึ่งใหญ่กว่าอีกข้าง ซึ่งถ้าพบ และรีบทำการผ่าตัดออกได้เร็ว ช่วยลดการสูญเสียอวัยวะขากรรไกร ยังสามารถรักษารูปหน้าให้เหมือนเดิมได้ แต่ถ้าถุงน้ำหรือเนื้องอกมีขนาดใหญ่มากๆ ก็อาจต้องตัดขากรรไกรบางส่วนออกทำให้เสียรูปหน้าบริเวณนั้นได้
6. เพื่อป้องกันกระดูกขากรรไกรหัก เนื่องจากการที่มีฟันคุดฝังอยู่ในกระดูกขากรรไกรจะทำให้กระดูกขากรรไกรบริเวณนั้นบางกว่าตำแหน่งอื่น เกิดเป็นจุดอ่อนเมื่อได้รับอุบัติเหตุ หรือกระทบกระแทกกระดูกขากรรไกรบริเวณนั้นก็จะหักได้ง่าย
7. ในการจัดฟันเพื่อแก้ไขฟันหน้าซ้อนเก มักต้องถอนฟันกรามซี่ที่3 ออกเสียก่อนเพื่อให้ง่ายต่อการเคลื่อนฟันซี่อื่นๆ และแรงดันของฟันคุดยังมากพอที่จะผลักให้ฟันข้างเคียงรับแรงกระทบต่อๆ กันไปจนทำให้การแก้ไขฟันหน้าบิดซ้อนเกไม่ได้รับผลที่ดี
8. ผู้สูงอายุที่ฟันกรามถูกถอนออกแต่ไม่ได้ถอนฟันคุดออกไป และต้องใส่ฟันเทียมถอดได้ ฟันเทียมด้านท้ายจะไปกดกระดูกทำให้กระดูกละลายไปทำให้เจ็บบริเวณด้านท้ายฟันเทียมได้หากรู้อย่างนี้แล้ว คงไม่อยากปล่อยฟันคุดนี้เป็นอุปสรรคในชีวิต การผ่าฟันคุดออกตอนที่ยังไม่ปวดจะง่ายและไม่เจ็บปวดเท่าตอนที่ระบม และเจ็บปวดจากฟันคุด
Updigidental พร้อมดูแลคุณ ผ่าฟันคุด โดยทีมแพทย์ เฉพาะทาง ผ่าฟันคุด และศัลยกรรมภายในช่องปาก